วันเสาร์ที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

หนังสือทำมือ ที่ยอดผลิตมากกว่า 300 เล่ม

แนะนำเข้าโรงพิมพ์เลยค่ะ คุณภาพดีกว่า ถึงแม้จำนวนน้อย แต่ราคาสูสีกับการถ่ายเอกสารพอสมควร

แต่ถ้าพิมพ์มากกว่า 700 เล่ม ราคาจะถูกกว่าการถ่ายเอกสารแล้วค่ะ





เล่าคร่าวๆ เกี่ยวกับขั้นตอนการพิมพ์นะคะ





























1. บทความ






คุณต้องมีบทความที่พร้อมทำ Artwork นั่นคือความถูกต้องของข้อมูล การสะกด บรรทัด ย่อหน้า ต้องตรวจทานให้พร้อมสรรพ













2. การทำ Artwork






ในการพิมพ์ โปรแกรมที่ต้องใช้ คือ Page maker / Illustration / In CD และโปรแกรม กราฟิคอื่น ๆ ในการทำ Artwork จุดสำคัญคือการวาง Layout ให้พอดี โดยทั่วไป จะเว้นขอบประมาณ 1 นิ้ว ยกเว้นขอบใน ขอบส่วนที่เย็บเล่ม จะเว้น 1.5 นิ้ว






ความผิดพลาดของการวาง layout จะมีปัญหาดังนี้








  • การตัดตัวอักษรในท้ายแต่ละบรรทัด เช่น เพราะ คนจัด art อาจลืมมอง จัดเป็น เพ / ราะ ทำให้ไม่สวย


  • การแปลงตัวอักษรภาษาอังกฤษ เป็นภาษาไทย -- ตัวกระโดด, บางคำกลายเป็นสระ เช่น "" กลายเป็น " + เป็นต้น ต้องตรวจให้ดีค่ะ






ในการวาง Artwork เราสามารถจัดงานให้สวยได้นะคะ มีลูกเล่นมากมาย เช่นการเว้นช่องว่าง ทำให้หนังสือไม่เน่นเกินไป การวางรูปเล็ก ๆ หรือการใช้ สัญลักษณ์เหล่านั้ก็ช่วยให้การวาง layout หนังสือมีสีสันขึ้น













การออกแบบปก


เป็นเสน่ห์ของหนังสือเลยก็ว่าได้ ยิ่งออกแบบปก ให้ Attractive มากเท่าใดก็ยิ่งทำให้หนังสือน่าค้นหามากยิ่งเท่านั้น -- ไว้ว้นหลังจะมาเล่าเชิงวิพากษ์เกี่ยวกับปกหนังสือต่างๆ นะค่ะ หรือเพื่อน ๆ จะร่วมด้วยช่วยกันวิพากษ์ก็สนุกดีค่ะ


และอย่าลืม



  • หน้าเครดิต -- ระบุ ข้อมูลบรรณานุกรมหนังสือที่เราขอจากหอสมุดแห่งชาติ เมื่อขอเสร็จจะได้เลขที่ ISBN มา -- อย่าลืมระบุนะคะ

  • หน้าโฆษณา -- ถ้าหนังสือเรามีมากกว่า 1 เล่ม สามารถใส่หน้าโฆษณาไว้ท้ายหนังสือได้นะจ๊ะ


3. ทำเพลท -- โรงพิมพ์จะรับหน้าที่นำ Artwork ที่เราทำ ส่งโรงพิมพ์ ในขั้นตอนการทำเพลท จะมีการยิงฟิลม์ และอัดเพลท -- ซึ่งเขาจะบรู๊ฟ งานให้เราดูก่อนพิมพ์


ย้ำนะคะ -- ขอดูบรู๊ฟ ทุกครั้ง เพื่อความถูกต้องของงาน หน้าตาจะเหมือนกับที่เราสั่งพิมพ์ทุกอย่างต่างกันที่เนื้อกระดาษเท่านั้น คุณสามารถปรับเปลี่ยนทุกอย่างได้ในขั้นตอนนี้



4. พิมพ์งาน -- เข้าแท่นพิมพ์จ้า



5. เข้าเล่ม -- จะมีการเข้าเล่มหลายรูปแบบนะคะ



  • ไสกาว --- ปกติเหมือนหนังสือทั่วไป

  • เย็บกี่ ไสกาว -- ให้ความคงทนมากกว่า อยู่ได้นานกว่า ไม่มีคำว่าหน้าหลุดเด็ดขาด

  • เย็บกี่ เข้าปกแข็ง สันโค้ง หรือสันตรง -- เช่นหนังสือ Harry Porter ปกแข็งนะจ๊ะ



เป็นอันเสร็จสิ้นขั้นตอนการพิมพ์นะคะ

ขั้นตอน การทำหนังสือ ที่น้อยกว่า 300 เล่ม




สำหรับนักเขียนที่ต้องการทำหนังสือ และไม่มั่นใจว่ามีแฟนคลับมากพอที่จะซื้อหนังสือของเรา (คำว่าแฟนคลับที่มากพอคือประมาณ 300 คน ขึ้นไปนะจ๊ะ) ปลาแนะนำดังนี้นะคะ





1. เริ่มจากการทำ Artwork หนังสือทั่วไปจะมี 2 Size มาตรฐาน คือ A4 กับ A5 (ครึ่งหนึ่งของ A4 เป็นขนาดเท่ากับ pocket book)




ปลาแนะนำ Size A5 - ดีกว่านะคะ เพราะเล็ก กระทัดรัด เหมาะมือในการหิ้วไปไหนต่อไหน



เนื้อในก่อนนะคะ


การทำ Artwork -- ทำได้ทั้ง MS Word, Ms Publiser ซึ่งจะสามารถจัดหน้า จัดเลขหน้า ออกแบบ ขอบบน ขอบล่างได้ตามความพอใจ





การพิสูจน์อักษร -- อย่ามองข้ามความฉลาดของนักอ่าน นะคะ เดี๋ยวนี้นักอ่านเค้าปัดถะนา แล้ว เค้าเป็นคนช่าง comment และเป็นการพิสูจน์ความสามารถของนักเขียนด้วยว่าใส่ใจแค่ไหน




2. QC -- print ออกมา แล้วตรวจดูความเรียบร้อยนะคะ พิมพ์ผิดหรือเปล่า สะกดถูกหรือเปล่า ขอบหน้าขอบหลัง เป็นอย่างไร ไปตัดตัวสะกดหรือเปล่า ขั้นตอนนี้คือตรวจ และตรวจ และตรวจ




3. ปก - การออกแบบปกเป็นเรื่องสำคัญ และสำคัญมาก หนังสือจะน่าหยิบ น่าอ่านหรือไม่ขึ้นอยู่กับปกเป็นหลักค่ะ นักเขียนบางคนโชคดี ตัวเองมีหัวศิลป์ ก็สบายไป แต่บางคนไม่มีทำอย่างไรดีล่ะ -- คำแนะนำคือจ้าง การจ้างออกแบบปก ส่วนใหญ่เค้าจะคิดราคาตั้งแต่ 1500 - 3000 บาท ขึ้นกับฝีมือของนักออกแบบ เป็นหลัก สำหรับยอดที่ต่ำกว่า 300 เล่ม ปลาแนะนำ ไม่ออกแบบเอง ก็ต้องพึ่งชาวบ้านเค้าล่ะ มีพี่น้อง เพื่อนฝูง แฟนเพื่อน น้องแฟน พี่เมีย น้องเมีย พี่สามี น้องสามี ฯลฯ ต้องมีสักคนละที่พึ่งได้ล่ะน้า.....




4. การผลิต -- ยอดน้อยง่ายมากค่ะ







  • เนื้อใน --จัดเตรียมเนื้อในที่เราทำ Artwork เสร็จแล้วจัดให้เป็นรูปเล่มหนังสือ ส่วนใหญ่จะเป็นหน้าคู่ ดูตามภาพนะคะ บางโปรแกรม จะมีการจัดหน้าสำหรับทำหนังสือให้เราเลย






  • ไปที่ร้านถ่ายเอกสารนะคะ ไปที่ร้านถ่ายเอกสารให้เค้าถ่ายเป็น A4 -- บางร้านจะมีบริการตัดกระดาษให้ ให้เค้าหั่นกระดาษตามแนวที่เราต้องการเลยนะคะ

  • เราสามารถเลือกกระดาษได้นะคะ มีตั้งแต่ กระดาษปอนด์ธรรมดาอย่างดี หรือ กรีนรีด หรือ กระดาษสี เข้าไปเลือกตามร้านค้าได้เลยค่ะ Macro หรือ Office mate จะมีให้เลือกนะคะ


  • ขั้นตอนต่อไปก็เรียงหน้า ตามเลขหน้า ก็จะได้เนื้อในเสร็จเรียบร้อย




5. การผลิต -- ปก - ขอเล่าแบบปกสวย ๆ นะคะ ปกหนึ่งจะประมาณ 15 -20 บาทนะคะ ใช้วิธี print แบบ Digital เอา เราสามารถทำเอง หรือจ้างคนทำก็ได้



ถ้าทำเอง ไปซื้อกระดาษ Glossy แบบ หนาประมาณ 230 แกรมขึ้นไป หรือ Art card แล้วใช้ printer สี print ออกมา ก็จะสวยงาน



ถ้าจ้างทำ --ก็ไปให้ที่ร้านที่รับ print สีทำให้ ตกแผ่นละ 15 -20 บาท ขึ้นอยู่กับจำนวน






6. เข้าเล่ม


การเข้าเล่มมีหลายแบบ


1. แบบเชือก -ดูเก๋ไก๋ เหมาะกับปกที่เป็นปกแข็งหุ้มด้วยกระดาษสา หรือผ้า


2. แบบ ห่วง -- ม่ายใช่ ห่วงคุมกำเนิดนะจ๊ะ เป็นห่วงเย็บเล่ม


2. แบบ Max / คาด -- ต้นทุนต่ำ - ราคาถูกสำหรับคนงบน้อย


3. แบบ Max / ซ่อน -- ต้นทุนต่ำ - ก็สวยดีแต่ไม่เนียนค่ะ


4. แบบ ไสกาว แพงนิดหนึ่ง ตกเล่มละ 20-25 บาท แล้วแต่ร้านนะคะ แต่ก็ OK สวยงามเหมือนหนังสือทุกประการ



หนังสือจะบอกถึงความใส่ใจของนักเขียนสู่มือผู้อ่านน่ะค่ะ

ทางเลือกในการทำ หนังสือทำมือ - ทำเองกับมือ


การทำหนังสือทำมือ หรือ ทำเองกับมือ ไม่ใช่หมายความว่าบทความคุณไม่น่าสนใจนะคะ อย่ามองข้ามไป ในการเลือกทำ หนังสือทำมือ ก็มีเป้าหมายหลายอย่างที่เราอาจมองข้ามไป




1. ทำเพราะใจรัก -- อยากทำง่ะ เป็นความฝัน ว่าชาตินี้ฉันจะมีหนังสือของฉันเองสักเล่ม


2. ทำเพราะใจรัก + มีตลาดในมือ --- ยิ่งทำ ฝันยิ่งเป็นจริง แถมกระเป๋าสตางค์ยังมีเงินเหลือทำเล่มต่อไปอีก


3. ทำเพราะอยากเผยแพร่ -- อาจเป็นบทความของเรา หรือของคนอื่น ที่เราคิดว่าดี --- แนะนำลงเวบไซด์ แล้วอ้างอิงทีมาด้วยนะคะ



ปลาจะขอ เล่า เรื่อง หนังสือทำมือ เพราะใจรัก + มีตลาดในมือ ให้ฟังนะคะ


มีเพื่อนคนหนึ่ง She เป็น นักเขียนยอดนิยม ขึ้นอันดับ 1 ในเวบไซด์เด็กดีมาตลอด ซึ่งปลาเองก็เป็นแฟนนิยาย ตัวยงของเค้าทีเดียว เค้าทำการ Survey ว่าถ้าเขาทำหนังสือ จะมีคนซื้อหนังสือกี่คน ปรากฏว่า 8000 คน หลังจากนั้น ก็เปิดจองหนังสือ มีคนซื้อหนังสือเค้าจำนวน 3000 คน

ถือว่าสูงมากในวงการทีเดียว She สามารถทำหนังสือที่ดี ทำในสิ่งที่อยากทำ ในระดับเดียวกับสำนักพิมพ์ได้ พร้อมกับสร้างแฟนคลับหนังสือ ที่ติดงอมแงม (รวมทั้งปลาด้วยล่ะ)


นับว่าฝันเป็นจริง และอย่าลืมว่า สุดท้ายหนังสือจะเดินหรือไม่เดิน ขึ้นกับคุณภาพของเนื้อหาหนังสือเป็นหลักนะจ๊ะ

หนังสือทำมือ

ปลาเปิด blog นี้สำหรับ ผู้ที่ต้องการพิมพ์หนังสือตัวเองโดยเฉพาะนะคะ ซึ่งปลาจะเล่าขั้นตอนการทำหนังสือให้ฟังนะคะ

1. เริ่มจากการเขียนหนังสือก่อน

นักเขียนต้องเข้าใจว่า หัวใจของการขายหนังสือได้ขึ้นอยู่กับคุณภาพของงานเขียน งานเขียนที่ดี ต้องตรงกับกลุ่มเป้าหมาย ก่อนอื่นต้องหาก่อนว่าคุณเขียนให้ใครอ่าน ใครคนนั้นเขาชอบอ่านหนังสือสไตล์ไหน มีคนติดตามอ่านงานเขียนของเราหรือไม่ ซึ่งคุณสามารถทดสอบตลาดได้จากการลองลงเวบ ต่าง ๆ เช่น เวบเด็กดี, เวบ sirinda, หรือเวบของสำนักพิมพ์ต่างๆ ซึ่งจะมีหน้าลงบทความให้กับนักเขียน
ถ้ามีแฟน ๆ เยอะ นับว่าเป็น sign ที่ดี ต่อไปขึ้นกับความฝันของคุณแล้วล่ะ ว่าอยากทำหนังสือหรือเปล่า

2. นำเสนอสำนักพิมพ์
ถ้าคุณมั่นใจว่าคุณภาพการเขียนของคุณดี มีคนเข้ามาติดตามเยอะ ขึ้นอันดับบทความยอดนิยมของเวบนั้น ๆ และถ้าขึ้นอันดับนานๆ ก็จะมีแมวมองจากสำนักพิมพ์ ต่างๆ วิ่งเข้ามาหาคุณ ให้คุณเลือก shop ว่าจะพิมพ์กับที่ไหนดี ข้อแนะนำในการเลือกสำนักพิมพ์นะคะ
  • คุณภาพงานพิมพ์ - ตั้งแต่การออกแบบปก เนื้อใน และ คุณภาพหนังสือ
  • การสนับสนุนเนื้อเรื่อง - หลายสำนักพิมพ์ จะมีกองบรรณาธิการ ช่วยในการ comment / ปรับภาษา และพิสูจน์อักษร - ตรงนี้จะเป็นประโยชน์กับนักเขียนมือใหม่มาก... ถึงมากที่สุด
  • การประชาสัมพันธ์ และ จัดจำหน่าย - มีระบบประชาสัมพันธ์นักเขียน และจัดจำหน่ายที่เข้มแข็งหรือไม่ ถ้าเข้มแข็ง ก็จะช่วยให้หนังสือเป็นที่รู้จัก และขายดีตามมา
  • สำนักพิมพ์ เปิดมานาน -- จะดีมาก มีบางสำนักพิมพ์เหมือนหิ่งห้อย ซึ่งถ้านักเขียนไปทำสัญญาลิขสิทธิ์กับเขา แล้ว เกิดสำนักพิมพ์เลิกกิจการ ก็จะมีผลกระทบทางกฎหมายตามมา -- ระวังด้วยนะคะ

สำหรับการพิมพ์งานกับสำนักพิมพ์ นักเขียนจะได้ค่าลิขสิทธิ์การเขียน เป็น % จากราคาหนังสือ โดยเฉลี่ยจะอยู่ที่ 8-12 %

การทำงานกับ สนพ. จะช่วยให้นักเขียนเริ่มมีประสบการณ์ การทำหนังสือ มีชื่อในวงการหนังสือ ซึ่งเป็นการลดความเสี่ยงในการลงทุนทำหนังสือเอง แต่นักเขียนก็ต้องมีจรรยาบรรณ และความเป็นมืออาชีพ คือ ห้ามขโมยบทความของคนอื่นไปขาย, ห้ามแปลงหรือขโมยความคิดของชาวบ้าน, ห้ามขายบทความกับหลายๆ สำนักพิมพ์ เป็นต้น

ซึ่งปัญหาเหล่านี้ได้เกิดขึ้นจริง สามารถอ่านได้ที่ pantip นะคะ และจะทำให้คุณเสียอนาคตในตลาดหนังสือ ไม่ว่าคุณจะเก่งแค่ไหนก็ตาม

3. ในกรณีที่หนังสือเราไม่เป็นที่รู้จักล่ะ ทำอย่างไรดี

มีเพื่อน ๆ หลายคนที่เป็นนักเขียนมือใหม่ เหมือนกันนะคะ อยากเป็นนักเขียนมาก เค้าก็เริ่มต้นจากเวบเด็กดีนี่แหล่ะ การเขียนก็ค่อนข้างดี เป็นนิยายแนวเดียวกับตลาดเลยก็ว่าได้ แต่เผอิญ เผอ้ง rating ในเวบเด็กดี ไม่ติด Top 10 ก็ขอแนะนำดังนี้นะคะ

  • ในเวบบทความ ทุกเวบจะมีหมวดให้เลือก ให้คุณเลือกหมวดที่คนลงน้อยๆ เช่นถ้าเป็นนิยาย ก็จะมีมีนิยายซึ้งกินใจ นิยายแนวเศร้า แนว หวานแหวว ก็เลือกแนวเศร้า ซะ เพราะคนลงบทความน้อย จากนั้นก็ขยัน ลงบทความทุก ๆ วัน พยายามสร้างความสัมพันธ์กับผู้อ่านให้ช่วยวิจารณ์บ้าง พูดเล่น แซวเล่น สร้างเป็น ชุมชนรักการอ่านเล็ก ๆ นะคะ คนก็จะเริ่มเวียนเข้ามาที่บทความนี้บ่อย ๆ เอาล่ะ Rating คุณก็จะเริ่มขึ้นแล้วนะ
  • แต่ถ้ายังไม่เข้าตาสำนักพิมพ์อีกล่ะ -- นำเสนอค่ะ นักเขียนชื่อดังหลายๆ คน ไม่ว่าจะเป็น แดน บราน์ หรือ JK Rolling ก็ไม่เคยได้รับการพิจารณาในครั้งแรกที่นำเสนอนะคะ ต้องยื่นแล้ว ยื่นอีก อย่างที่ว่า ความพยายามอยู่ที่ไหน ความสำเร็จก็อยู่ที่นั่น